นโยบายการพัฒนาตำบลสระพัฒนา วิสัยทัศน์ (Vision) “มุ่งเน้นการศึกษา เสริมสร้างรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิต พิทักษ์สิ่งแวดล้อม กระจายโครงสร้างพื้นฐาน น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้การบริหารจัดการที่ดี”
๑. นโยบายการพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม การส่งเสริมและสนับสนุนด้านการปฏิรูปการศึกษาเจตนารมณ์ เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความรู้ ให้ประชาชนทั้งปวงได้รับโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต และมีปัญญาเป็นทุนไว้สร้างงานและสร้างรายได้ และนำพาท้องถิ่นให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจและสังคม โดยยึดหลักการศึกษาสร้างชาติ สร้างคน และสร้างงาน ตลอดจนการส่งเสริมสนับสนุนด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่น ดังนี้ ๑.๑ สนับสนุนและส่งเสริมพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนให้ได้ตามมาตรฐาน เน้นคุณภาพ ประสิทธิภาพและความเที่ยงธรรมในการบริหารจัดการศึกษาทุกประเภท
๑.๒ ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษาที่ทันสมัย พร้อมทั้งบุคลากร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทางการศึกษา ๑.๓ สนับสนุน ส่งเสริม รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น พัฒนาแหล่งวัฒนธรรม ศิลปวัตถุ และโบราณสถานให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งรายได้ของประชาชนในพื้นที่
๒. นโยบายการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจ การส่งเสริม การพัฒนาทางเศรษฐกิจภายในท้องถิ่นเป็นการสนับสนุนและเพิ่มศักยภาพของกลุ่มให้มีความ เข้มแข็งและยั่งยืน ดังนี้ ๒.๑ สนับสนุน ส่งเสริมกลุ่มอาชีพให้เติบโตและเข้มแข็งเพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มให้มีความ เข้มแข็งอย่างยั่งยืน พัฒนาอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา กระบวนการสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชน ขยายเครือข่าย โดยจัดหาแหล่งรองรับสินค้าหรือตลาดส่งออกสินค้าของกลุ่มอาชีพ ๒.๒ สนับสนุน ส่งเสริมด้านการเกษตร กระบวนการเรียนรู้ภาคการเกษตร อุตสาหกรรม การเกษตร ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการใช้เกษตรอินทรีย์ ๒.๓ สร้างรายได้และลดรายจ่ายในครัวเรือน ส่งเสริม สนับสนุน ขยายเครือข่าย เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการในพื้นที่ ๒.๔ ส่งเสริมกิจกรรมที่สอดคล้องตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
๓. นโยบายด้านการพัฒนาสังคม พัฒนาศักยภาพของประชาชนในตำบล ทั้งในด้านคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนี้ ๓.๑ ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน และการบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน สนับสนุนการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อ โดยการเฝ้าระวัง ป้องกันและรักษาอย่างเป็นระบบเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ๓.๒ ส่งเสริม สนับสนุน ด้านสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถพึ่งตนเองได้รวมทั้งได้รับการช่วยเหลือและได้รับการบริการอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ๓.๓ ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการกีฬา และนันทนาการเพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของประชาชน ให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สนับสนุนให้มีการแข่งขันกีฬา เพื่อก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีและปลูกฝังค่านิยมที่ดีต่อการกีฬา ๓.๔ ป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ เอกชนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันป้องกันและแก้ปัญหาอย่างใกล้ชิดเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่สถาบันครอบครัว
๓.๕ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาสังคมที่สอดคล้องกับทิศทางของการสร้าง สุขภาวะแบบองค์รวม และการสร้างสังคมที่อยู่ดีมีสุข มีความเป็นชุมชนน่าอยู่ ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นทุกเวลา เช่น ติดตั้งกล้องวงจรปิดทั่วทั้งตำบล , มี อปพร. เป็นเวรยามเพื่อรักษาความปลอดภัยและทรัพย์สิน
๔. นโยบายการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยว จัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นปัจจัยเกื้อหนุนในการดำรงชีวิตเพื่อ เอื้ออำนวยต่อความสมดุลของระบบนิเวศวิทยาเพื่อยกระดับคุณภาพและสนับสนุนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนี้ ๔.๑ สนับสนุน ส่งเสริมให้ชุมชนมุ่งรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน และสถานที่ต่างๆในตำบลให้เป็นเมืองน่าอยู่ ๔.๒ ส่งเสริมสนับสนุนการเฝ้าระวัง และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมและกำจัดมลภาวะที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชน ๔.๓ ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนการจัดทำโครงการและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งไปสู่การลดสภาวะโลกร้อน และเพิ่มพื้นที่สีเขียว ๔.๔ พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เชิงนิเวศ และเชิงสุขภาพ
๕. นโยบายการพัฒนาการบริหารจัดการที่ดี การพัฒนาการเมืองการบริหาร เพื่อให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ ที่ได้ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น ให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่น ในการกำหนดนโยบาย การบริหาร การเงิน การคลัง การบริหารงานบุคคล ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามภารกิจที่เพิ่มขึ้นขององค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อพัฒนาระบบการบริหาร และการบริการให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ดังนี้ ๕.๑ ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมของประชาชน เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนรับรู้และเสนอความคิดเห็นในการพัฒนาท้องถิ่น และส่งเสริมความรู้ด้านกฎหมายให้กับประชาชน ๕.๒ พัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลสระพัฒนาให้เป็นองค์กรธรรมาภิบาล ที่มีหลักการบริหารจัดการตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี และเป็นหน่วยบริการสังคมที่ดีมีมาตรฐานด้วยการส่งเสริม สร้างความร่วมมือ ประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สร้างกระบวนการเรียนรู้ พร้อมทั้งสร้างเสริมกระบวนการพัฒนาระบบการบริการสาธารณะที่ดี สร้างบุคลากรให้มีคุณภาพและมีจิตสำนึกในการให้บริการเพื่อรองรับการบริการแต่ละด้านให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ๕.๓ ส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนองค์กรชุมชนและคณะกรรมการชุมชน ที่ดำเนินกิจกรรม และโครงการต่างๆโดยชุมชนและเพื่อชุมชนรวมทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเพื่อพัฒนายกระดับการขับเคลื่อนไปสู่ทิศทางของชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน
๕.๔ ส่งเสริมสนับสนุนการประสานงานเพื่อก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายการทำงาน ทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ และพื้นที่อื่นๆ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน
๖. นโยบายการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน และบริการสาธารณะ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งน้ำ และบริการสาธารณะต่างๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน และเพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต เป็นการวางรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ๖.๑ ส่งเสริมการพัฒนาด้านเส้นทางคมนาคมต่างๆ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ๖.๒ พัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และเสริมสร้างมาตรการในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในชุมชน ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ โดยการก่อสร้างและปรับปรุงท่อระบายน้ำ รางระบายน้ำรวมถึงระบบระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังอย่างเป็นระบบ เช่น ประปาผิวดิน ๖.๓ พัฒนาระบบการ ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาสาธารณูปโภค สาธารณูปการอย่างทั่วถึง เช่น การติดตั้งหอกระจายข่าวของตำบลสระพัฒนา |
|
|